เมนบอร์ด (Main board)
เมนบอร์ด (Mainboard) นั้นมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน
อาทิ มาเธอร์บอร์ (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system
board), ลอจิกบอร์ด (logic board) หรือในบางประเทศก็เรียกว่า โมโบ
(mobo) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard
เมนบอร์ด
คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง
ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาทิ
ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ ซีพียู (CPU) และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำถาวร
มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์
เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ
โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
เมนบอร์ด
(Mainboard)
เมนบอร์ดได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในปัจจุบันได้มีรูปแบบที่นิยมใช้งานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็คือ
ATX
(Advance Technology Extension) โดยเราสามารถแบบช่วงการพัฒนาเมนบอร์ดได้ดังนี้
-
PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM
-
AT (Advance
Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น
ATX
-
ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
-
ETX ใช้ใน embedded systems
-
LPX ออกแบบโดย Western Digital BTX (Balanced Technology extended) เป็นแผงวง จรหลักรุ่นใหม่ที่ถูกนำเสนอโดย Intel Mini-ITX (VIA
Epia) ออกแบบโดย VIA
-
WTX (Workstation
Technology extended) เป็นแผงวงจรหลักสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ในปัจจุบันมาตรฐานเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ก็มีอยู่
2
แบบคือ ATX และ เมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX
เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กจะสังเกตได้ว่าขนาดเมนบอร์ดจะเล็กกว่าเมนบอร์ดทั่วไป
ซึ่งเมนบอร์ดรุ่น Mini – ITX นี้จะใช้เพื่อความบันเทิงเสียเป็นส่วนใหญ่
ชนิดของเมนบอร์ดสามารถแบ่งเมนบอร์ดออกได้เป็น2ประเภทใหญ่คือเมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้างและเมนบอร์ดแบ่งตามช็อกเก็ตใส่ซีพียู
1) เมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้าง
เมนบอร์ดแบ่งตามโครงสร้างเรียกว่า Form Factors หมายถึงการจำแนกเมนบอร์ดเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะโครงสร้างขนาดและรูปร่างตามมาตรฐานแล้วจะมีแบบATและATX
เมนบอร์ดแบบATX
แต่ทั้งนี้เมนบอร์ดแบบATXก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกหลายรูปแบบ
ได้แก่ Micro ATX และ Flex ATX ซึ่งแต่ละแบบมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป
ATX ( Advanced Technology Extended ) เป็นเมนบอร์ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีขนาดที่ 12 x 9.6 นิ้ว
เป็นเมนบอร์ดตัวใหญ่ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีต
เพราะว่าขนาดของมันที่ใหญ่จึงสามารถเพิ่มใส่อุปกรณ์ต่างๆได้มากขึ้นกว่าชนิดอื่นๆ
และสามารถระบายความร้อนได้อย่างดีเพราะมีการออกแบบให้อุปกรณ์ภายในเมนบอร์ดนั้นสามารถที่จะระบายอากาศได้อย่างลงตัว
และยังสามารถที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นแรมที่สามารถใส่ได้มากกว่า 2
ช่อง หรือการ์ดจอที่สามารถใส่ได้มากกว่า 2 ตัวนั้นเอง
Micro ATX จะมีขนาดที่เล็กลงมาจาก
ATX เนื่องจากว่ามีขนาดที่เล็กลงจึงสามารถอุปกรณ์อื่นๆได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ขนาดเล็กลงนั้นก็สามารถลดการใช้พลังงานด้วยเช่นกัน จะมีขนาดประมาณ 9.6 และสามารถใช้งานกับเคสคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงมาหน่อยได้
เป็นการประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน
Mini-ITX (Information Technology Extended) เป็นเมนบอร์ดที่มีรูปแบบเล็กกว่าสองแบบแรก
ด้วยความที่ต้องการประหยัดเนื้อที่ให้เล็กลงอีก
การใช้พลังงานก็ต่ำลงด้วยเช่นกันเนื่องจากมีอุปกรณ์ที่มาพร้อมกันอย่างสัญญาณ WIFI
และมีช่องต่อต่างๆที่จำเป็นเท่านั้น
และมีข้อจำกัดในการเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆเข้าไปส่วนมากหลายอย่างนั้นจะมาในตัวแล้วยกเว้นแค่
แรม ซีพียู และฮาร์ดดิสก์เท่านั้น
หากต้องการเมนบอร์ดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ของคุณ จำเป็นต้องใช้รุ่น Micro
ATX ขึ้นไป
เมนบอร์ดแบบ
ATX Micro ATX และ Flex
ATX
เมนบอร์ดแบบนี้ถูกออกแบบมารองรับกับการใช้งานซีพียูแต่ละรูปแบบโดยเฉพาะเนื่องจากซีพียูในปัจจุบันมีรูปแบบและโครงสร้างไม่เหมือนกัน
ช็อกเก็ตใส่ซีพียูจึงไม่เหมือนกันไปด้วย แต่ข้อแตกต่างที่กล่าวมานี้เกิดจากชิปเซ็ตเป็นตัวกำหนด
เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตชนิดเดียวกันจะมีคุณสมบัติและความสามารถเหมือนกันสำหรับเมนบอร์ดในปัจจุบันที่ยังนิยมใช้กันสามารถแบ่งตามซ็อคเก็ตใส่ซีพียูได้ดังนี้คือ
แบบSocket
7, Socket 370,Socket A, Slot A, Slot 1 สำหรับเมนบอร์ดแบบ Slot
2 ซึ่งเป็นของอินเทลที่ใช้สำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเมนบอร์ดแบบSocket 3,4,5 ซึ่งเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าในปัจจุบันไม่มีการผลิตเพิ่มแล้ว

Slot 1

Socket 7

Socket 370
ตารางที่
2-2 ชนิดเมนบอร์ดแบ่งตามช็อคเก็ตใส่ซีพียู
ชนิดเมนบอร์ด
|
ซีพียู/รุ่นที่ใช้
|
จำนวนขา
|
ชนิดแพ็คเก็ต
|
Socket
7
|
Pentium
ผลิตรุ่นหลังPentium mmxAMD K5,K6-2
Cyrix6x86,M ll. |
296/321
|
PPGA
|
Socket
370
|
Pentium
III (Coppermine)
รุ่นความเร็วไม่เกิน 600 MHz Celeron (รุ่นใหม่) AMD Cyrix III |
370
|
PPGA
Micro PGA
FC-PGA PPGA |
Socket
A
|
AMD
Thunderbird (Athlon รุ่นใหม่) AMD Duron
|
462
|
PPGA
|
Slot
A
|
AMD
Athlon (รุ่นเก่า)
|
246(2แถว)
|
SECC
(AMD)
|
Slot
1
|
Pentium
III (Coppermine) รุ่น 600 MHz ขึ้นไป
|
246(2แถว)
|
SECC
-แบบ 242 พิน
|
สำหรับเมนบอร์ดสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทั้งภายนอกและภายในจึงต้องมีช่องสำหรับการเชื่อมต่อต่างๆเข้าด้วยกัน และสามารถจะรองรับการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันในบางรุ่นหรือว่ามีส่วนประกอบที่แตกต่างกันความสามารถที่จะทำงานก็ต่างกันด้วย
เรารู้จักส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญและควรรู้ที่มีในเมนบอร์ดกัน

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
1. ซ็อกเก็ตซีพียู
(CPU
Socket) เป็นตำแหน่งสำหรับติดตั้งซีพียู รูปแบบซ็อกเก็ตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่น การเลือกซื้อเมนบอร์ดมาใช้งานนั้นจึงต้องตรวจสอบว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อมาใช้นั้นจึงควรเลือกซีพียูและเมนบอร์ดที่มันซ็อกเก็ตซีพียูให้ตรงกันที่นิยมกันจะมี 4 แบบ คือ LGA 775 สำหรับ Core
2 Socket AM2+/AM3 สำหรับ AMD LGA
1366 สำหรับ Core i7 และLGA
1156 สำหรับ Core i3และ i5
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ จะปรากฏอยู่ด้านหลังของตัว(เคส)คอมพิวเตอร์ ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก
อย่างเช่น คีบอร์ด เมาส์ ลำโพง เป็นต้น
แต่ละพอร์ตจะมีลักษณะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุปกรณีที่นำมาต่อ
3. สล๊อตของการ์ดจอ (Graphic Card
Slot) ใช้สำหรับเสียบการ์ดจอเพื่อแสดงผลออกมอนิเตอร์
4. สล๊อต PCI (PCI Slot) เป็นสล๊อตขนาดเล็กใช้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับสล๊อตการ์ดจอ
สล๊อต PCI ทำหน้่าที่
สำหรับติดตั้งการ์ดที่เป็นอุปกรณ์เสริมต่างๆใช้สำหรับเสียบการ์ดเสียง การ์ดเลน
โมเด็มต่างๆ
5. หัวต่อไดร์ฟต่างๆ หรือตัวอ่านแผ่นดิสก์
6. ซิปเซต (Chipset) หรือภาษานักคอมเรียกกันว่าซิปรอมไบออส BIOS ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่างๆของเมนบอร์ด ทั้งส่วนของซีพียู
ฮาร์ดดิสค์ การ์ดจอ แรมและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
7. ตัวต่อแบบ SATA ใช้เชื่อมต่อฮาร์ดดิสค์แบบSATA ประหยัดพลังงานแล้วพื้นที่ใช้สอย และยังระบายความร้อนได้ดี
8. ตัวต่อแบบ IDE ใช้ต่อทั้งฮาร์ดดิสค์แบบเก่า
ซีดีและดีวีดี
9. ตัวเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟ จะมีรูปแบบแหล่งจ่ายไฟอยู่ทั้งหมด 2 แบบ
คือ หัวแบบ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่นนั้นต้องมี เมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้หัวต่อชนิดนี้เพิ่มขึ้นมาจากหัวต่อเดิม
และแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ในปัจจุบันก็ทำหัวต่อชนิดนี้ไว้ให้อยู่แล้วเป็นแหล่งนำเข้าไฟไว้เลี้ยงทุกส่วนของคอมพิวเตอร์
10. ซ็อกเก็ตแรม ซึ่งซ็อกเก็ตแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันออกไปสังเกตได้จากรอยบาก ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละตัวจะรองรับแรมที่ไม่เหมือนกันต้องสังเกตว่าเมนบอร์ดที่ซื้อนั้นใช่ซ็อกเก็ตแรมแบบไหน
ปัจจุบันก็มีตั้งแต่รุ่นเก่า คือ SDRAM ไปจนถึง DDR
, DDR2 และ DDR3
11. ตัวคุมต่างๆ อย่างเช่น ปุ่มpower ปุ่มrestart ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสค์
12. ตัวต่อUSB ใช้เฉพาะต่ออุปกรณ์ภายในเคสเท่านั้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น