จอคอมพิวเตอร์


           จอภาพ (Monitor)  
            ในปัจจุบันจอแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคที่คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถที่จะแสดงกราฟิกและสีสันได้เหมือนกับทุกวันนี้ เมื่อก่อนคอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรกที่มีใช้งานกันนั้นจอภาพจะเป็นเพียงตัวหนังสือสีขาว พื้นหลังสีดำเท่านั้น หลังจากที่มีการพัฒนาโปรแกรมที่ตอบสนองการใช้งานกราฟิกมากยิ่งขึ้นจอแสดงผลก็มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับโปรแกรมและเทคโนโลยีในการแสดงผลเพื่อให้ภาพและกราฟิกที่ออกมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์มีความสมจริงมากที่สุดนั้นเอง
            จอคอมพิวเตอร์มีหลายชนิดด้วยกัน โดยเราสามารถแบ่งจอคอมพิวเตอร์เป็นชนิดใหญ่ๆได้ 3 ชนิดด้วยกันคือ
1.      จอแสดงผลแบบ CRT (Cathode Ray Tube Monitor)
             เป็นจอแสดงผลที่รับสัญญาณภาพแบบอนาล็อก (Analog) โดยมีการพัฒนาจอแสดงผล CRT มาจากจอโทรทัศน์ในสมัยนั้น โดยผู้ที่ริเริ่มในการสร้างจอแสดงผลแบบนี้คือ บริษัทไอบีเอ็ม ซึ่งในยุคต้น ๆจอแสดงผลจะยังไม่สามารถแสดงกราฟฟิกต่าง ๆได้เหมือนกับในปัจจุบันโดยหลักการทำงานของจอแสดงผลแบบ CRT นั้นจะทำงานโดยอาศัยหลอดภาพที่สร้างภาพเหมือนกับในโทรทัศน์ โดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ซึ่งมีสารประกอบของฟอสฟอรัสฉาบอยู่ที่ผิว เมื่อถูกแสงอิเล็กตรอนมากระทบ สารเหล่านี้จะเกิดการเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นภาพและสีตามสัญญาณ Analog ที่ได้รับมานั่นเอง ในปัจจุบันจอแสดงผลแบบ CRT นั้นเริ่มจะไม่เป็นที่นิยมแล้วเพราะว่ามีจอแสดงผลแบบใหม่มาทดแทนที่มีคุณสมบัติด้านการแสดงผลที่ดีกว่า



 จอแสดงผลแบบ CRT
                 2. จอแสดงผลแบบ LCD (Liquid Crystal Display) 
                   เป็นจอแสดงผลรุ่นที่สองต่อจากจอแสดงผลแบบ CRT ที่ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 2506 ในสมัยแรกๆจอ LCD นั้นเริ่มใช้งานจริงๆในนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก โดยหลักการทำงานของจอแสดงผลแบบ LCD นั้นจะใช้วัสดุประเภทผลึกเหลว (Liquid Crystal) มาใส่ไว้ในผิวของกระจก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดสีขึ้น ซึ่งข้อดีของจอแสดงผลแบบ LCD มีหลายอย่างแต่ที่เห็นได้ชัดคือจอ LCD จะประหยัดพลังงานมากกว่าจอแบบ CRT แต่ในข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเช่นเดียวกันคือ จอ LCD คือมุมมองสำหรับการเห็นภาพค่อนข้างแคบ

        
                 
 จอแสดงผลแบบ LCD
                    3. จอแสดงผลแบบ LED ( Light-emitting-diod) 
                        ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อทางการตลาด โดยชื่อจริงของเทคโนโลยีนี้คือ OLED (Organic -Light Emitting Devices) โดยมีหลัการทำงานที่ไม่ยากและสลับซับซ้อนเท่าไรด้วยการนำหลอดLED มาเรียงรายกันเป็นแถว โดยภาพต่างๆจะเกิดขึ้นจากการติดดับของหลอด LED ทำให้เกิดภาพและสีที่ได้ชัดเจนกว่าจอแสดงผลแบบอื่น ๆโดยจอแสดงผลแบบ LED นี้เป็นเทคโนโลยีที่มาทดแทนและปิดจุดบกพร่องของจอแสดงผลแบบ LCD ซึ่งจอแบบ LED นั้นจะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของมุมมอง และอัตราการตอบสนองของภาพที่ไวกว่าแบบจอ LCD นอกจากนั้นจอแบบ LED ยังประหยัดไฟฟ้าได้ดีกว่าแบบ LCD อีกด้วย



จอแสดงผลแบบ LED
          3.1 Panel ของจอแสดงผล
          Panel หรือตัวแผงจอที่ทำให้เกิดภาพ มีหลักๆ 2 ชนิด
          1) TN Panel (Twisted Nematic ) ชื่อเต็มว่า “Twisted Nematic + film” หรือบางทีเรียกว่า จอ TFT LCD (thin-film transistor) เป็นประเภทของ LCD Panel ที่มีการผลิต และใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุด เนื่องจากต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ และความสามารถในการตอบสนองของการเปลี่ยนสีที่รวดเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยง effects อันไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น shadow trails และ ghosting artifact
              TN Panel มีข้อเสียในเรื่องของมุมมองการรับชมที่ค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะมุมมองการรับชมในแนวตั้ง และ TN Panel หลายๆ ตัวสามารถแสดงผลได้ 6 บิทต่อ 1 สี (6 bits per color) แทนที่จะเป็นแบบ 8 บิทต่อ 1 สี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ TN Panel แบบ 6 บิทไม่สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสีได้ (16.7 ล้านสี หรือ 24-bit truecolor) และเมื่อนำ panel เหล่านี้มาต่อกับ source ที่เป็น true color มันจะจำลอง (interpolate) เฉดสีอื่นๆ ที่มันไม่สามารถแสดงได้ขึ้นมาโดยการใช้เทคนิค dithering ซึ่งเป็นการรวมเอาพิกเซลที่อยู่ใกล้เคียงกันมาคำนวณและจำลองสีที่ต้องการออกมา
         2) IPS Panel (in-plane switching) ถูกพัฒนาขึ้นโดยฮิตาชิ ในปี 1996 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงข้อเสียของ TN panel ในแง่ของมุมมองการรับชมและความสามารถในการแสดงสี IPS Panel ยังได้ถูกพัฒนาต่อยอดออกมาอีกหลายประเภท ดังนี้
-         AS-IPS – Advanced Super IPS ถูกพัฒนาโดยฮิตาชิในปี 2002 โดยได้รับการปรับปรุงContract ratio ให้ดีขึ้น ซึ่ง AS-IPS panel ได้ถูกใช้โดยจอของ NEC
-         A-TW-IPS – Advanced True White IPS, พัฒนาโดย LG Philips ให้กับ NEC โดย Panel ชนิดนี้ได้รับการปรับปรุงโดยเพิ่ม color filter เพื่อให้สีขาวดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น และเพิ่ม color gamut ให้ใกล้เคียงกับจอ CRT มากขึ้น จึงมีการนำ Panel ประเภทนี้ไปใช้กับจอ LCD สำหรับมืออาชีพที่ทำงานด้านภาพถ่ายที่ต้องการความแม่นยำของสีสูง
-         H-IPS – เป็นอีกหนึ่ง panel ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก IPS โดยได้รับการปรับปรุงเรื่อง Backlight bleeding, เรื่องสีออกโทนม่วงเวลามองจากมุมด้านข้าง และลด noise ลงด้วย แต่การปรับปรุงเหล่านี้ก็ทำให้มุมมองในการรับชมแคบลงกว่าเดิม


ภาพที่ 2.5 ประเภท IPS Panel
                   หากกล่าวถึง IPS Panel หรือ In-Plane Switching ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นต่อมาจาก TFT LCD โดยหน้าจอคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ได้รับการรองรับขอบเขตของสีตามมาตรฐานของ Adobe RGB ได้มากถึง 97% เลยทีเดียว ซึ่งจะทำให้สีที่แสดงบนหน้าจอผิดเพี้ยนได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ โดย Panel ตัวนี้จะเป็นที่นิยมของคนที่ทำงานกับเกี่ยวภาพเป็นอย่างมาก เพราะจะได้ภาพสีที่ตรงกับ Original เลย และที่สำคัญเลยคือ มุมมองมีความกว้างถึง 178 องศา ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ก็ทำให้สามารถมองเห็นสีได้คมชัดเหมือนมองตรง ๆ ครับ คือพูดง่าย ๆ ก็มีการผิดเพี้ยนของสีน้อยกว่า Panel อย่าง TFT LCD อย่างแน่นอน และที่สำคัญเลย ตอนนี้หน้าจอแบบ IPS Panel สามารถทำ Response time ได้เหลือเพียง 1 ms แล้ว โดยสมัยก่อน ๆ นั้นยังไม่เคยทำได้

              จอแสดงผลทุกแบบต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป  จะเห็นได้จอภาพเป็นส่วนที่สำคัญในการแสดงผลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานและควรที่จะเลือกให้เหมาะสมกับงานเพราะว่ามีขนาดและความละเอียดที่แตกต่างกันและเทคโนโลยีจึงทำให้มีคุณสมบัติเพิ่มเติมและรายละเอียดที่ต้องพิจารณามากขึ้นกว่าเดิม    

ความคิดเห็น