ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลระบบปฏิบัติการณ์ต่างๆ ที่ใช้ขับเคลื่อนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ หรือข้อมูลในรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์ หรือแฟ้มงานต่างๆ ล้วนถูกเก็บรักษาเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์นี่เอง ดังนั้นจึงบอกได้เลยว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งเลยทีเดียวก็ว่าได้ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็คงต้องเทียบว่า ฮาร์ดดิสก์คือสมองส่วนความทรงจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง
         วิวัฒนาการการพัฒนาของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หรือที่เราเรียกว่า ฮาร์ดไดร์ฟ
         1. PATA (Parallel Advance Technology Attachment)
             ชื่อเหมือนห้างดังเเถวปิ่นเกล้า หลายๆ คนที่เกิดในยุคดึกดำบรรพ์ (เวอร์ไปป่ะ) คงจะรู้จักฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ในชื่อ IDE หรือ Integrated Drive Electronics ซึ่งได้ถูกพัฒนาโดยบริษัท Western Digital คำว่า Parallel ถ้าให้แปลเป็นภาษาไทยตรงๆตัวเลย จะแปลว่า “ขนาน” คำว่าขนานในที่นี้จะหมายถึงรูปแบบอินเตอร์เฟซเอง ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเตอร์เฟซ ATA (AT Attachment) สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ด้วยความที่มันเป็นฮาร์ดดิสก์รุ่นดึกดำบรรพ์ ทำให้ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลแบบสโลวไลฟ์อยู่ที่ประมาณ 8.3 Mbps และมีความจุข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 504 MB ต่อมาได้มีการพัฒนาความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลและความจุของฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ขึ้น และใช้ชื่อเรียกให้ดูเก๋ขึ้นอีกนิดว่า E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) โดยฮาร์ดดิสก์แบบ E-DIE นั้นมีความเร็วในการโอนข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 133 Mbps หลังจากที่ Serial ATA (SATA) เริ่มเข้าสู่ตลาดในปี 2003 ทำให้ชื่อ ATA ถูกเปลี่ยนเป็น Parallel ATA หรือ PATA จุดประสงค์ก็เพื่อแยกประเภทฮาร์ดดิสก์ตามอินเตอร์เฟซแบบอนุกรม (Serial) และแบบขนาน (Parallel) ออกจากกัน
           2. SCSI (Small Computer System Interface)
              เอสซีเอสไอ หรือที่ พวกเราเรียกกันว่า “สกัสซี” ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฮาร์ดแวร์และบัส เช่น การเชื่อมต่อ CD-Rs, DVD รวมถึง Hard Drive ด้วย SCSI Cable Chain ในเครื่อง Desktop PC นั่นเอง โดยปกติแล้ว SCSI สามารถต่อกับอุปกรณ์ได้ 7-15 ชิ้น โดยอาศัยบอร์ด (SCSI host adapter หรือ SCSI controller) เพียงตัวเดียวในการจัดการ SCSI ในสมัยก่อนได้รับความนิยมสูงในการนำมาใช้งานกับ Server ในองค์กร เนื่องจากความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่นับว่าสูงในสมัยนั้น รวมถึงอายุการใช้งานที่มากกว่าด้วย เนื่องจาก SCSI Controller สามารถรวบรวมคำสั่ง การอ่าน เขียน และลบข้อมูล เข้ามาเป็นคำสั่งเดียวกันได้ ทำให้ไม่ส่งผลต่อการทำงานของ CPU มากนัก อีกทั้งยังประหยัดเวลาการทำงานเมื่อต้องเจอกับไฟล์ข้อมูลจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ ปัจจุบันนี้ เราแทบไม่ค่อยเห็นฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ใช้งานในองค์กรกันแล้ว เนื่องจากเทคโนโลยีก้าวหน้าไปแบบก้าวกระโดด ซึ่งผมเองก็น้ำตาไหลพรากทุกครั้ง เมื่อนึกย้อนไปถึงสมัย Floppy Disk (OMG)
       3. SATA (Serial Advanced Technology Attachment)
        SATA เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกครั้งแรกที่งาน PC Expo ในเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน สำหรับ Serial ATA นั้นจะมีรูปแบบอินเตอร์เฟซหรือการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial) ด้วยวิธีการนำโปรโตคอลเข้ามาควบคุมให้ส่งข้อทีละ bit เรียงกัน ซึ่งจะมีความสูงกว่าการรับส่งข้อมูลแบบขนาน (PATA หรือ IDE) ด้วยความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 150 Mbps สาย SATA ถูกปรับให้มีขนาดเล็กลง จากเดิมที่มี 40 Pin (PATA) ถูกปรับให้เล็กลงเหลือแค่ 7 Pin (SATA) ปัจจุบันเซิร์ฟเวอร์รุ่นเล็กบางยี่ห้อขยับมาใช้ฮาร์ดไดร์ฟแบบ SATA เกือบทั้งหมดเนื่องจากต้นทุนที่ถูกและการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น
       4. Near Line SAS
       หากจะพูดว่า Near Line SAS เป็นลูกผสมระหว่าง SATA กับ SAS ก็คงไม่ผิด เพราะความหมายตรงๆ ก็คือ “เข้าใกล้ SAS” (แต่ก็ยังไม่ถึงขั้น SAS – -) ถ้าหากคุณเข้าใจการทำงานของ SATA และ SAS ก็จะเข้าใจการทำงานของ NL-SAS ได้ไม่ยาก เพราะมันแค่เอา SATA ฮาร์ดดิสมาใส่ SAS interface (Head and Media Connector) เข้าไป โดย NL-SAS จะยังคงใช้ลักษณะดิสก์แบบจานหมุนของ SATA แต่ที่เพิ่มเติมคือ การใช้ชุดคำสั่งแบบ SAS มาช่วยจัดการ เช่น คำสั่งการจัดเรียงคิวข้อมูล การอ่านเขียนข้อมูลหลายๆ Channel พร้อมกัน และการทำงานหลายๆโฮสพร้อมกัน เป็นต้น ถึงกระนั้น ประสิทธิภาพของ NL-SAS ก็ยังคงไม่ดีเท่ากับ SAS
       5. SAS (Serial Attached SCSI)
         SAS เป็นโพรโทคอลสื่อสารรูปแบบ Point-to-Point ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลสำหรับอุปกรณ์ฮาร์ดไดร์ฟ (Hard Drive) และ เทป (Tape Drive) โดยตัวควบคุม (Controller) จะเชื่อมต่อกับดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)โดยตรง โพรโทคอลอนุกรมของ SAS ได้ถูกนำมาแทนที่การรับส่งข้อมูลแบบขนาน (SCSI) โดยยังคงใช้ชุดคำสั่งแบบเดิมของ SCSI อยู่ แต่ได้รับการปรับปรุงในด้านความสามารถมากกว่า SCSI ในหลายๆด้านยกตัวอย่างเช่น SAS สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากถึง 128 อุปกรณ์ในเวลาเดียวกัน สายเคเบิลที่ใช้เชื่อมต่อก็ยังบางกว่าและยาวกว่าด้วย การส่งผ่านสัญญาณระหว่างต้นทางและปลายทางแบบ Full-Duplex รองรับความเร็วที่ 3 Gbps และยังรองรับเทคโนโลยี Hot-Swap อีกด้วย อีกหนึ่งเหตุผลที่ SAS ได้รับความนิยมภายในองค์กรก็คือการที่มันสามารถสื่อสารกับ SATA และ SCSI ได้ (Socket ที่ใช้เชื่อมต่อจะคล้ายกับแบบ SATA แต่อุปกรณ์ SAS จะมี Data Port เพิ่มมา)
         6. Solid-State Drive (SSD)
            SSD เป็นอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ใช้การประกอบแผงวงจรในรูปแบบชิปหน่วยความจำ (คล้ายกับการทำงานของแฟลชไดร์ฟ) ที่เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดย SSD ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ส่วนหลักๆ คือ ชิปหน่วยความจำ (Memory) และ ชิปควบคุมการทำงาน (Controller) หากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแม่เหล็กแบบเดิมที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนในขณะที่ดิสก์หมุนด้วยความเร็วรอบสูงและแน่นอนว่าความร้อนก็สูงตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลที่ตามมาคืออายุการใช้งานที่สั้นลง แต่ SSD กลับตอบโจทย์ปัญหาทุกข้อที่ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนมี ทั้งในเรื่องการเสียงรบกวน ความร้อน และเรื่องความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลแบบทวีคูณ เรียกได้ว่าเร็วที่สุดในบรรดาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทุกประเภทในปัจจุบัน (ข้อเสียเห็นทีจะมีแค่เรื่องราคาหล่ะนะ)
      ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
        1. หัวอ่าน (Head) เป็นส่วนหนึ่งของแขนหัวอ่าน ซึ่งเจ้าหัวอ่านตัวนี้สร้างจากขดลวด เพื่อใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยการรับคำสั่งจากตัวคอนโทรลเลอร์ ก่อนเกิดความเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก และไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสนามแม่เหล็ก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลนั่นเอง
        2. แขนหัวอ่าน (Actuator Arm) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวๆ ซึ่งสามารถรับคำสั่งจากวงจรให้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยต้องทำงานร่วมกับหัวอ่าน
        3.จานแม่เหล็ก (Platters) มีลักษณะเป็นจานกลมๆ เคลือบด้วยสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆ ชั้นขึ้นอยู่กับความจุ เจ้าสารแม่เหล็กที่เองที่เป็นข้อมูลต่างๆ ของเรา โดยข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกในลักษณะของเลข 0 และ 1 แผ่นแม่เหล็กนั้นติดกับมอเตอร์สำหรับหมุน (Spindle Motor) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
       4. มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก (Spindle Motor) เป็นตัวควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล ปกติมักมีความเร็วในการหมุนประมาณ 7200 รอบต่อนาที แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมทำให้ตัวมอเตอร์มาสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 1 หมื่นรอบต่อนาที
       5. เคส (Case) หรือตัวกล่องสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่บรรจุส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการทำงานของฮาร์ดดิสก์


ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

           ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ชนิดคือ
           1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
           ฮาร์ดดิสก์ แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อฮาร์ดดิสก์ได้สูงสุด 4 ตัว มีความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504MB เท่านั้นเอง
              2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
              ฮาร์ดดิสก์ แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดยฮาร์ดดิสก์ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลยทีเดียว
              วิธีการรับส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ E-IDE ยังแบ่งออกเป็นหลาย ๆ แบบ ทั้งPIO และ DMA โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง ฮาร์ดดิสก เห็นได้ชัดเลยว่าการทำงานนั้นมีความเกี่ยวข้องกับซีพียู ดังนั้นจึงไม่เหมาะในลักษณะงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์บ่อย ครั้งหรือการทำงานหลายๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า Multitasking environment ซึ่งการที่ต้องเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์บ่อยครั้ง จะทำให้ความสามารถในการทำงานโดยรวมของระบบต่ำลง
         โหมด DMA (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ประโยชน์ของการใช้ DMA ก็น่าจะเห็นได้ชัดเจน เพราะเมื่อซีพียูสามารถมุ่งมั่นกับงานของตนเองให้เสร็จโดยไม่ต้องพะวงว่าจะ ถูกสะกิดรบกวนจากฮาร์ดดิสก์ให้ช่วยทำงาน ก็สามารถทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ระบบโดยรวมมีความเร็วสูงขึ้นตามไปด้วย
       3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
          ฮาร์ดดิสก์ แบบ SCSI (สะกัสซี่) เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดยฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับความสามารถของการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ด้วยกัน ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI จะมีความเร็วสูงสุดถึง 320 เมกะไบต์/วินาที รวมถึงกำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์อย่างต่ำก็หลักหมื่นโดยปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE อยู่เยอะ ส่งผลให้ราคานั้นย่อมที่จะแพงเป็นธรรมดา โดยส่วนใหญ่จะนำฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI มาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น
          4. แบบ Serial ATA
            เป็น อินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และอีกไม่นานจะพลัดใบเข้าสู่ความเป็น Serial ATA II ซึ่งเมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เริ่มเจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่พัฒนาอย่างไรก็ไม่ทัน SCSI ซะที และอีกสาเหตุมาจากสายแพแบบ Parallel ATA เพื่อการส่งผ่านข้อมูลนั้นมีขนาดความกว้างถึง 2 นิ้ว และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ตอนนี้อินเทอร์เฟซแบบ Parallel ATA ก็เริ่มเจอทางตันแล้วเหมือนกัน เมื่ออัตราความเร็วในปัจจุบันทำได้สูงสุดเพียงระดับ 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ต่างพากันหันมาให้ความสนใจเทคโนโลยีต่อ เชื่อมรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA กันเป็นแถว โดยให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์ต่อวินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มผู้พัฒนา Serial ATA ซึ่งได้เผยข้อกำหนดคุณสมบัติสำหรับ Serial ATA 1.0 ขึ้น ด้วยคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะฮาร์ดดิสก์เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่นๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย และด้วย การพัฒนาของ Serial ATA นี้เอง ที่จะทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัวฮาร์ดดิสก์ลงได้ โดยสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วของระบบที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ Serial ATA จึงกลายเป็นความหวังใหม่ สำหรับการเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์ (Hard Drive) ในอนาคต นอกจากนี้ Serial ATA ยังแตกต่างจากฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนานอย่างชัดเจน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ฮาร์ดไดรฟ์ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดได้เลย ลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไปได้มาก อีกทั้งฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน
           ฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบทั้งระบบ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องดูแล และถนอมการใช้งานของฮาร์ดดิสก์เอาไว้ให้ดี ทั้งนี้เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์เกิดพังหรือเสียหายขึ้นมา ข้อมูลของเราก็จะพลอยสูญหายไปด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอง
          ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์
           ขนาด 8 นิ้ว (241.มิลลิเมตร × 117.มิลลิเมตร × 362 มิลลิเมตร), ขนาด 5.25 นิ้ว (146.มิลลิเมตร × 41.มิลลิเมตร × 203 มิลลิเมตร),ขนาด 3.นิ้ว (101.มิลลิเมตร × 25.มิลลิเมตร × 146 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) หรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 10,000, 7,200 หรือ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์
           ขนาด 2.นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร × 9.515 มิลลิเมตร × 100 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา แล็ปท็อป, UMPC, เน็ตบุ๊กอุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 จิกะไบต์ ถึง 1 เทระไบต์ ขนาด 1.8 นิ้ว (55 มิลลิเมตร × 8 มิลลิเมตร × 71 มิลลิเมตร),ขนาด 1 นิ้ว (43 มิลลิเมตร × 5 มิลลิเมตร × 36.มิลลิเมตร)

            ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่าง ๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี เรด รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS หน่วยเก็บข้อมูลบนเครือข่าย เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครือข่ายส่วนตัว และระบบ SAN (Storage area network) เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล

ความคิดเห็น