ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)

            แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (อังกฤษfloppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่าแผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) หรือ แผ่นบันทึก (ศัพท์บัญญัติ) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์ (floppy disk drive)


 ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์ (Floppy Disk Drive)

แผ่นดิสก์ยุคแรก มีขนาด 8 นิ้ว สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เพื่อใช้กับเครื่อง System/370 ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) สร้างโดยเดวิด โนเบิล ในทีมงานของ อะลัน ซูการ์ต ซึ่งต่อมา ซูการ์ตแยกตัวออกไปตั้งบริษัททำวิจัยเกี่ยวกับหน่วยความจำ ชื่อบริษัทซูการ์ต ในปี ค.ศ. 1973 แต่เพียงหนึ่งปีต่อมา บริษัทก็ขาดทุนและซูการ์ตก็ถูกไล่ออกจากบริษัทตัวเอง
นักวิจัยของบริษัทซูการ์ต ชื่อ จิม แอดคิสสัน ได้รับการติดต่อจาก An Wang เพื่อให้ลดขนาดแผ่นดิสก์ให้เล็กลง การติดต่อเกิดขึ้นที่บาร์ในบอสตัน และขนาดแผ่นดิสก์ใหม่ที่คุยกันคือขนาดเท่ากระดาษเช็ดมือในร้าน ซึ่งมีขนาด นิ้ว ต่อมาไม่นาน บริษัทซูการ์ต ก็ผลิตแผ่นดิสก์ขนาดนี้ได้และได้รับความนิยม ในตอนแรก แผ่นมีความจุ 110 กิโลไบต์ ต่อมา บริษัท Tandon พัฒนาให้ความจุสูงขึ้น โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลสองหน้า (double density) ทำให้สามารถเก็บได้ 360 กิโลไบต์
แผ่นดิสก์เป็นที่นิยมในท้องตลาดอย่างสูง ทำให้หลาย ๆ บริษัททุ่มทุนวิจัยทางด้านนี้ ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล ผลิตเครื่องที่ใช้แผ่นดิสก์ขนาด นิ้วของบริษัทโซนี่ และผลักดันให้แผ่น นิ้ว เป็นมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมของอเมริกา ความจุเริ่มแรกของแผ่นดิสก์ขนาด นิ้ว คือ 360 กิโลไบต์ สำหรับหน้าเดียว (single density) และ 720 กิโลไบต์ สำหรับสองหน้า และต่อมาก็สามารถเพิ่มความจุเป็น 1.44 เมกะไบต์ โดยการเพิ่มความจุต่อหน้า (high-density) ต่อมา ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็พบวิธีทำให้มีความจุเป็น 2.88 เมกะไบต์ โดยการเปลี่ยนวิธีการเคลือบแผ่น แต่รุ่นสุดท้ายนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ต้องการความจุที่สูงกว่านี้ แผ่นดิสก์จึงถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่นไป เช่น ซีดีรอมดีวีดีรอม
        ระบบการทำงานของฟล็อปปี้ดิสก์
        กลไกการทำงานของฟล็อปปี้ดิสก์จะค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ โดยตัวจานหมุนจะเป็นวัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ไมลาร์(Mylar) ที่เป็นพลาสติกสังเคราะห์เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ ในดิสก์ 1 แผ่นจะมีจานเดียว หัวอ่านจะเลื่อนเข้าไปอ่านข้อมูล เริ่มแรกสามารถอ่านข้อมูลได้เพียงด้านเดียว ต่อมามีการพัฒนาให้สามารถอ่านข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน เรียกว่า Double-sided  หัวอ่านจะสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้ต้องใช้ความเร็วหมุนจานที่ต่ำ คือประมาณ 300 รอบต่อนาทีเท่านั้น (เทียบกับ 7200 รอบต่อนาทีที่เป็นมาตรฐานของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน) และเนื่องจากหัวอ่านสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้แผ่นมีการสึกหรอได้ง่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจะมีการส่งสัญญาณไปเปลี่ยนแปลงค่าสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน เมื่อตัวไดรว์ของดิสก์อ่านข้อมูลได้แล้วจะทำการส่งต่อให้กับคอนโทรลเลอร์ควบคุมแบบอนุกรม(ทีละบิตต่อเนื่องกัน ต่างกับฮาร์ดดิสก์ที่ส่งแบบขนาน ทำให้ส่งข้อมูลได้ช้ามาก อัตราการส่งข้อมูลจะอยู่ในช่วง 0.5-1 เมกะไบต์ต่อวินาที ส่วนความเร็วในการค้นหาข้อมูลตกประมาณ 60-200 Millisecond) โดยส่งต่อข้อมูลให้ซีพียูด้วยการทำ DMA (Direct Memory Access)ขณะที่ฟล็อปปี้ไดรว์ทำงาน อุปกรณ์อื่น ๆ ต้องหยุดรอ ทำให้การทำงานของระบบเกือบจะหยุดชะงักไป ที่มุมด้านหนึ่งของฟล็อปปี้ดิสก์จะมีกลไกป้องกันการเขียนทับข้อมูล (write-protect) หากเป็นแผ่น 5.25 นิ้ว จะเป็นรอยบากซึ่งหากปิดรอยนี้จะไม่สามารถเขียนข้อมูลได้ ต่างกับ ดิสก์ 3.5 นิ้ว ที่จะเป็นสลักพลาสติกเลื่อนไปมา หากเลื่อนเปิดเป็นช่องจะบันทึกไม่ได้
ตารางที่ 2-3 ความจุของฟล็อปปี้ดิสก์แบบต่าง ๆ
     ขนาด
                    แบบ
 ด้านที่บันทึก
     ความจุข้อมูล
     5.25 นิ้ว
     Single sided-Double Density
       1
     160/180 KB
     Double sided-Double Density
       2
     320/360 KB
     HD(High Density)
       2
     1.2 MB
      3.5 นิ้ว
    Double sided-Single Density
       2
     720 KB
    Double sided-High Density
       2
     1.44 MB
    Double sided-Quad Density
       2
     2.88 MB
     3.5 นิ้ว
    Floptical Disk
      2
     120 MB






ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)

ความคิดเห็น